ประวัติความเป็นมาโรงเรียน

ประวัติโรงเรียนศรียาภัย

โรงเรียนศรียาภัยเป็นโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เดิมสังกัดกรมสามัญศึกษา) กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่ 149 ถนนพิศิษฐพยาบาล อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร เริ่มเปิดทำการสอนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2440 จนถึงปัจจุบัน นับเป็นเวลานานถึง 117 ปี ด้วยฐานะของโรงเรียนเป็นโรงเรียนประจำจังหวัด จึงได้รับความนิยมจากประชาชนในจังหวัดชุมพรและจังหวัดใกล้เคียงมาโดยตลอด ทั้งนี้ จากนโยบายการจัดการศึกษาของโรงเรียนมุ่งเน้นด้านวิชาการ คุณธรรม จริยธรรม และกิจกรรมต่าง ๆ ตามปรัชญาของโรงเรียน “วิชาเด่น เน้นคุณธรรม กิจกรรมเลิศ เชิดชูสถาบัน” ทำให้นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาสามารถเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาชั้นสูงและออกไปประกอบอาชีพมีฐานะมั่นคง และนำชื่อเสียงมาสู่โรงเรียนเป็นอย่างดียิ่ง นอกจากนี้ โรงเรียนยังได้พัฒนาการเรียนการสอนให้มีคุณภาพสูงขึ้นเสมอ โดยยึดนโยบายของหน่วยเหนือเป็นหลักในการดำเนินการตั้งแต่ปีการศึกษา 2539 เป็นต้นมา โรงเรียนศรียาภัยได้จัด การเรียนการสอนตามโครงการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ

ปัจจุบันโรงเรียนศรียาภัย เปิดทำการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น14/13/14 และ          ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 14/14/12 รวม 81 ห้องเรียน มีนักเรียนทั้งหมด ….. คน ครู …. คน ลูกจ้างประจำ 6 คน ลูกจ้างชั่วคราว …. คน ด้านอาคารสถานที่โรงเรียนมีอาคารเรียนถาวร 5 หลัง หอประชุม 2 หลัง โรงฝึกงาน4 หลัง และอาคารชั่วคราว 1 หลัง

.ศ. 2440

ร.ศ.116 มีโรงเรียนอยู่ในวัดสุบรรณนิมิตร เมืองชุมพร เด็ก ๆ ได้อาศัยกุฏิพระและโคนต้นจันทร์เป็นที่เล่าเรียนหนังสือ ต่อมาได้อาศัยโรงทิมซึ่งสร้างขึ้นใช้ในการบำเพ็ญกุศลศพพระยาเพชรกำแหงสงคราม (ยัง) เจ้าเมืองชุมพร พระครูจุฬามุนี (ฤกษ์) เจ้าอาวาสรู้สึกสมเพชพวกเด็กนักเรียนเป็นอันมาก จึงสร้างโรงเรียนให้หลังหนึ่ง ทางการเรียกชื่อว่าโรงเรียนวัดสุบรรณนิมิตร ปีนั้นเมืองชุมพร ยกฐานะเป็นมณฑลชุมพร และมีคำสั่งให้ โรงเรียนวัดสุบรรณมิตรเป็นโรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลชุมพรด้วย โรงเรียนนี้ ได้สืบทอดต่อลงมาจนเป็นโรงเรียนศรียาภัยในเวลาปัจจุบันนี้ (พ.ศ. 2527) ประวัติตอนนี้พระครูวาทีธรรมรส (คล้อย เทพมณฑา) เป็นผู้เล่าแก่ นายคล่อง บุญเอี่ยม ซึ่งเป็นครูใหญ่โรงเรียนศรียาภัย ระหว่าง พ.ศ. 2477 ถึง พ.ศ. 2508

จากสมุดหมายเหตุรายวันของโรงเรียนที่ยังเหลืออยู่มีหลักฐานเป็นเอกสารชัดเจนย้อนไปได้เพียง พ.ศ. 2456 ปรากฏว่า นอกจากโรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลชุมพรแล้ว ยังมีโรงเรียนอื่น ๆ อีก 4 โรงเรียน คือ โรงเรียนวัดราชคฤห์ดาวคะนอง โรงเรียนหาดทรายแก้ว โรงเรียนหาดทรายทอง และโรงเรียนกงกตเวทีราช

 พ.ศ. 2456

โรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลชุมพร (วัดสุบรรณนิมิตร) จัดสอนตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ 2-3 และมัธยมปีที่ 1-3 มีนักเรียนทั้งหมด 60 คน ส่วนที่วัดราชคฤห์ดาวคะนอง (วัดท่าตะเภาเหนือ) เปิดสอนประถมปีที่ 1 จบประถมปีที่ 1 แล้วมาต่อ ป.2 ที่วัดสุบรรณนิมิตร สองโรงเรียนนี้จึงเป็นต้นกำเนิดของโรงเรียนศรียาภัย

ต่อมาปีใดไม่ทราบแน่ ทางราชการย้ายชั้นประถม 2-3 ไปไว้ที่โรงเรียนราชคฤห์ฯ ทั้งหมด โรงเรียนวัดสุบรรณนิมิตรให้สอนแต่เฉพาะมัธยมปีที่ 1-3 ระหว่างนี้มณฑลชุมพรถูกยุบไปขึ้นมณฑลสุราษฎร์ธานี

.ศ. 2460

คุณชื่น ศรียาภัย บุตรีพระยาวจีสัตยารักษ์ (ขำ ศรียาภัย) ได้สร้างอาคารเรียนขึ้นหลังหนึ่งในบริเวณวัดราชคฤห์ฯ (ท่าตะเภาเหนือ) โดยเจตนาจะยกให้กระทรวงธรรมการใช้เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา

.ศ. 2461

โรงเรียนวัดสุบรรณนิมิตร ซึ่งเป็นโรงเรียนระดับโรงเรียนประจำจังหวัดได้ขยายการเรียนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งมีนักเรียนเพียง 6 คน

ครั้นถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2461 ทางกระทรวงสั่งย้ายนักเรียนระดับมัธยม 1 – 4 จากโรงเรียน             วัดสุบรรณนิมิตรไปเรียนที่อาคารเรียนที่คุณชื่น ศรียาภัย สร้างให้ที่วัดท่าตะเภาเหนือ อาคารหลังนี้เป็นเรือนไม้     ชั้นเดียวใต้ถุนสูง หลังคามุงกระเบื้อง พื้นและฝาเป็นไม้มีห้องเรียน 5 ห้อง และมีมุขกลางอีกหนึ่งห้อง เป็นที่ทำงานของครูใหญ่ ราคาค่าก่อสร้างทั้งหมด 5,800 บาท มีนักเรียนตั้งแต่ประถมปีที่ 1 ถึงมัธยมปีที่ 4 รวม        101 คน ครู 6 คน ต่อมาได้ตัดชั้นประถมทั้งหมดไปเรียนที่โรงเรียนอื่น ๆ โรงเรียนวัดสุบรรณนิมิตรจึงกลายเป็นโรงเรียนประถมศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษาที่คุณชื่น ศรียาภัย สร้างอาคารให้นี้กระทรวง ธรรมการ ตั้งชื่อว่าโรงเรียนประจำจังหวัดชุมพร (ศรียาภัย)

.ศ. 2465

มณฑลสุราษฎร์ธานีมีหนังสือสั่งการมาให้โรงเรียนประจำจังหวัดชุมพร (ศรียาภัย) เปิดสอนถึงชั้นมัธยมตอนกลาง คือ ม.5-6 ในครั้งนั้นชั้นมัธยมมี 3 ระดับ คือ ระดับมัธยมตอนต้น (ม.1-4) มัธยมตอนกลาง (ม.5-6) และมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.7-8) ปี พ.ศ. 2465 นี้ นักเรียน ม.4 เข้าสอบไล่ 4 คน สอบไล่ได้ทั้งหมดนักเรียนสมัครใจเรียน ม.5 ต่อเพียง 3 คน

.ศ. 2466

นักเรียน ชั้น ม.5 จำนวน 3 คน สอบไล่ได้ 2 คน ค้นหลักฐานไม่ได้ว่านักเรียน ม.5 ทั้ง 2 คนนี้ จะเรียน ม.6 ต่อหรือไม่

.ศ. 2468

นักเรียน ชั้น ม.4-5-6 เรียนรวมในห้องเดียวกัน นางสงวน สดากร เป็นครูประจำชั้น ต่อมาจำนวนนักเรียนที่เข้าเรียน ม.1 ถึง ม.6 เพิ่มขึ้นทุกปี

.ศ. 2478

นักเรียนเพิ่มมากขึ้น ม.1 และ ม.2 ต้องแยกเป็นชั้นละ 2 ห้อง คือ ม.1 ก. ม.1 ข. และ ก. ม.2 ข. ชั้นนอกจากนั้นมีชั้นละห้อง อาคารเรียนของคุณชื่นมีเพียง 3 ห้อง ต้องแยก ม.1-2 ไปเรียนที่โรงธรรมบ้าง ศาลาบ้าง ใต้ถุนกุฏิพระบ้าง มีเรือนไม้อยู่ทางสุดเขตวัดด้านทิศใต้ใช้เป็นห้องเรียนชั้น ม.5 และ ม.6 เรือนหลังนี้เรียกกันว่า ศาลาดับจิต เดิมอาจจะเป็นที่เก็บศพของวัดก็ได้ การเรียนในสมัยนี้มุ่งเรียนแต่วิชาหนังสืออย่างเดียวมีวิชาเลขคณิต ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภูมิประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ จรรยา คัดลายมือ เขียนตามคำบอก วาดเขียน จักสาน และพลศึกษาไม่มีอุปกรณ์การสอนเลย โรงเรียนมีฟุตบอลลูกเดียวเป็นอุปกรณ์การสอนพลศึกษา

.ศ. 2479

มีอุปกรณ์การสอนพลศึกษาเพิ่มขึ้นบ้าง ได้แก่ ราวคู่ 1 ที่ ราวเดี่ยว 1 ที่ และห่วง 1 ที่พระสาร- สาสน์ประพันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการมาตรวจโรงเรียน เห็นว่า มีชั้นเรียน ม.1-6 ชั้น ม.1-2 มีชั้นละ2 ห้อง บนตัวอาคารเรียนมีห้องเรียนจริง ๆ 3 ห้อง จึงสั่งการให้ นายประสงค์ รังสิวัฒน์ ธรรมการจังหวัดจัดหาที่ดินสร้างโรงเรียน น.ท.หลวงสุนาวินวิวัฒน์ ข้าหลวงประจำจังหวัดชุมพร อนุญาตให้ใช้ที่ของกระทรวง มหาดไทยแปลงหนึ่งเป็นสวนผักอยู่ใกล้สนามบิน สนามบินก็คือ บริเวณที่เป็นโรงพยาบาลชุมพร, โรงเรียนสอาดเผดิมวิทยา, สถานีตรวจอากาศและสนามกีฬาจังหวัดในปัจจุบัน (พ.ศ.2527) สวนผักที่เป็นโรงเรียนประจำจังหวัดชุมพรก็คือที่ซึ่งเป็นโรงเรียนศรียาภัยเวลานี้ (พ.ศ.2527)

กระทรวงธรรมการจัดสรรงบประมาณมาให้ 5,600 บาท สร้างอาคารเรียน 2 ชั้น กว้าง 9 เมตร ยาว 27 เมตร ตอหม้อคอนกรีต เสาไม้ พื้นและฝาไม้ หลังคามุงกระเบื้องมีห้องเรียน 6 ห้อง ห้องทำงานครูและเก็บพัสดุขนาดเล็ก อีก 4 ห้อง เป็นอาคารครึ่งหลังยังไม่เต็มรูปมีมุขอยู่ทางด้านทิศตะวันตก

.ศ.2480

วันที่ 17 พฤษภาคม 2480 ย้ายนักเรียน ม.1-3 จำนวน 6 ห้อง มาเรียนที่อาคารใหม่ชั้น ม.4-6 ยังเรียนอยู่ที่อาคารเรียนเดิมในวัดท่าตะเภาเหนือ (2501-วัดชุมพรรังสรรค์) ปีนี้ยังใช้ชื่อโรงเรียนประจำจังหวัดชุมพร (ศรียาภัย) อยู่อย่างเดิม

 พ.ศ. 2481

กระทรวงธรรมการให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดชุมพร

 พ.ศ. 2483

เนื่องจากนักเรียนแยกกันเรียนอยู่ 2 แห่ง ไม่สะดวกแก่การปกครองและการบริหารงาน จังหวัดจึงขอเงินงบประมาณได้มาอีก 5,800 บาท ก่อสร้างอาคารที่สร้างไว้เมื่อปี 2480 ต่อไปทางตะวันออกอีกเท่าตัว ออกมุขเช่นเดียวกับด้านตะวันตก เป็นอาคารเต็มรูปมีห้องเรียนทั้งหมด 12 ห้องเรียน ห้องขนาดเล็กเป็นห้องครูใหญ่ ห้องพักครู ห้องพยาบาล และห้องพัสดุทั้งหมด 8 ห้อง โรงเรียนช่างไม้ชุมพร รับเหมาก่อสร้าง แต่สร้างไม่เสร็จเพราะเงินไม่พอ ต้องขอเงินมาเพิ่มอีก 3,200 บาท จึงแล้วเสร็จ รวมเงินค่าอาคารเรียนหลังนี้ทั้งสิ้น 9,000 บาท

.ศ. 2484

วันที่ 1 มกราคม 2484 อาคารเรียนที่ต่อเติมแล้วเสร็จ จึงย้ายนักเรียนชั้น ม.4-6 มาเรียน ณ ที่โรงเรียนใหม่ทั้งหมด อาคารศรียาภัยเดิมยกให้แก่วัดท่าตะเภาเหนือ และมีผู้ขอเช่าทำโรงเรียนราษฎร์ ช่วงนี้   ยังใช้ชื่อโรงเรียนว่า โรงเรียนประจำจังหวัดชุมพร คำว่าศรียาภัยขาดตอนไปช่วงหนึ่ง วันที่ 8 ธันวาคม 2484 ทหารญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกเพื่อผ่านประเทศไทยไปรบอังกฤษในพม่าและมลายู ยกพลขึ้นบกที่บ้านคอสนตำบล ท่ายาง เวลาหลังเที่ยงคืนติดโคลนอยู่จนสว่าง จึงเคลื่อนเข้ามาถึงถนนชุมพร-ปากน้ำ ในตำบลท่ายาง เกิดรบกับกำลังของฝ่ายไทยในวัดท่ายางเหนือและที่สะพานท่านางสังข์ เฉพาะที่สะพานท่านางสังข์นี้ นักเรียนชั้นมัธยม 4-6 ของโรงเรียนศรียาภัย ซึ่งเป็นยุวชนทหารหน่วยที่ 52 จำนวน 20 คนเศษ ได้เข้ารบยันทหารญี่ปุ่นไว้ได้ ตั้งแต่เช้าถึงเที่ยง เป็นวีรกรรมที่นักเรียนรุ่นหนึ่งได้กระทำไว้เป็นเกียรติ และชื่อเสียงทั้งของโรงเรียนและของชาติ

.ศ. 2494

ทางราชการได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็นโรงเรียนชุมพร “ศรียาภัย” ให้คงคำศรียาภัยไว้เป็นเกียรติแก่คุณชื่น ศรียาภัย ต่อไป

 พ.ศ. 2495

ได้รับงบประมาณอีก 100,000 บาท สร้างเรือนไม้ชั้นเดียวใต้ถุนสูงขนาด 3 ห้องเรียนต่อไปทางด้านตะวันออก เปิดใช้การเมื่อ 1 พฤษภาคม 2496

.ศ. 2500

ได้รับงบประมาณอีก 50,000 บาท ลาดพื้นซีเมนต์ชั้นล่าง กั้นห้องเรียนได้อีก 3 ห้อง มีเงิน เหลืออยู่ จึงสร้างห้องเรียนต่อเชื่อมกับอาคารหลังใหญ่ได้อีก 2 ห้อง

 พ.ศ. 2502

ใช้เงินบำรุงการศึกษาและเงินบริจาคของผู้ปกครองต่อเรือนไม้จากอาคารใหญ่ไปทางด้าน         ทิศตะวันตกอีกหลังหนึ่ง ได้ห้องเรียนธรรมดา 4 ห้อง ชั้นล่างเป็นห้องพลศึกษาและห้องวิทยาศาสตร์

 พ.ศ. 2503

เปลี่ยนชื่อโรงเรียนอีกครั้งหนึ่งเป็นโรงเรียนศรียาภัย และใช้ชื่อนี้มาจนถึงเวลาปัจจุบัน(7 ต.ค. 2527)

.ศ. 2512

ได้งบประมาณ 2,000,000 บาท สร้างตึก 3 ชั้น 18 ห้องเรียน สร้างเสร็จใช้เรียนได้ในปี 2513

.ศ. 2517

ได้งบประมาณ 70,000 บาท สร้างโรงฝึกงานเกษตรชั้นเดียว 1 หลัง

 พ.ศ. 2518

กรมสามัญศึกษาคัดเลือกโรงเรียนศรียาภัยเข้าอยู่ในโครงการพัฒนาโรงเรียนมัธยมในส่วนภูมิภาค (คมภ.1 รุ่น 2) ได้งบประมาณทั้งสิ้น 13,179,000 บาท สร้างตึก 4 ชั้น ใต้ถุนสูงขนาด 18 ห้อง 1 หลัง ตึก 4 ชั้น ขนาด 24 ห้อง 1 หลัง โรงฝึกงานโลหะชั้นเดียว 1 หลัง โรงฝึกงานช่างยนต์ ช่างก่อสร้าง ช่างไฟฟ้า 2 ชั้น 1 หลัง และอุปกรณ์การสอนวิชาชีพ ครุภัณฑ์ วิทยาศาสตร์และห้องสมุดอีก 1,193,822 บาท เริ่มก่อสร้าง พ.ศ. 2519 เสร็จใช้เรียนได้ในปี พ.ศ. 2520

.ศ. 2519

คุณหญิงอำนวย จุละจาริตต์ ได้บริจาคที่ดิน 2 ไร่ 3 งาน 794/10 ตารางวา ตั้งอยู่ในตำบล
บางหมากริมถนนชุมพร-ปากน้ำ ห่างตัวเมือง 2 กม. เศษ ใช้สร้างบ้านพักครู (ที่แปลงนี้ราคาซื้อขายขณะนั้น 500,000 บาท)

.ศ. 2523

โรงเรียนได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนชั่วคราว 7 ห้องเรียน เงิน 329,000 บาท แต่             ผู้ประกวดราคาได้ 300,000 บาท

.ศ. 2524

รื้อถอนอาคารเรียนเก่าที่เป็นเรือนไม้ทั้งหมด ประมูลขายได้ราคา 111,001 บาท รื้อเสร็จเรียบร้อยเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2525

.ศ. 2525

ได้รับงบประมาณประเภทเงินเหลือจ่าย 284,000 บาท สร้างอาคารเรียนชั่วคราว 4 ห้องเรียนริมตึก 424 ช่วงนี้มีห้องเรียน 61 ห้องเรียน นักเรียนประมาณ 2,700 คน ครู 152 คน

 พ.ศ. 2527

ได้งบประมาณ 2,200,000 บาท สร้างหอประชุมขนาดใหญ่ 1 หลัง ประกวดราคาได้ 1,995,000 บาท ปีนี้ลดห้องเรียนลงเหลือ 60 ห้อง คือ ม.1-6 ชั้นละ10 ห้อง นักเรียนประมาณ 2,700 คน

.ศ. 2530

ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 318 ล (418 ล. เดิม) 1 หลัง เป็นเงิน 5,500,000 บาท แต่ประกวดราคาได้ 4,820,000 บาท สร้างตั้งแต่ 14 กันยายน 2530 จะแล้วเสร็จ 8 กันยายน 2531 ตามสัญญา

.ศ. 2533

ได้รับงบประมาณงบกลางเพื่อปรับปรุงซ่อมแซมและก่อสร้างใหม่ (สร้างบ้านพักครู 3 หลัง) รวม 17 รายการ 3,138,000 บาท เนื่องจากประสบวาตภัย แล้วเสร็จเมื่อ 30 ตุลาคม 2533 ได้รับงบประมาณก่อสร้างหอประชุม-โรงอาหารแบบ 101 ล/27 จำนวน 1 หลัง เงิน 5,713,000 บาท สร้างตั้งแต่ 10 สิงหาคม 2533   แล้วเสร็จ 5 สิงหาคม 2534 เสร็จก่อนสัญญา

ได้รับงบประมาณก่อสร้าง ห้องน้ำ-ห้องส้วม แบบ 6 ที่/27 จำนวน 1 หลัง 156,000 บาท แล้วเสร็จเมื่อ 14 ธันวาคม 2533

ได้เงินงบกลาง เป็นค่าใช้จ่ายตามโครงการสร้างงานในชนบท กองทุนพัฒนาชนบท และโครงการพัฒนาจังหวัด ตามข้อเสนอของ ส.ส. ส่วนภูมิภาค เพื่อจัดซื้ออุปกรณ์ห้องปฏิบัติการทางภาษา และเครื่องคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง เป็นเงิน 341,200 บาท แต่สอบราคาได้ 328,500 บาท

.ศ. 2535

ได้รับงบประมาณก่อสร้างที่พักนักเรียน พร้อมห้องน้ำ – ห้องส้วม แบบ 108 จำนวน 2 หลัง 240,000 บาท

.ศ. 2536

ได้รับงบประมาณก่อสร้างห้องน้ำ-ห้องส้วม แบบ 6 ที่/27 จำนวน 1 หลัง เงิน 157,143 บาท สร้างตั้งแต่ 22 กันยายน 2536 แล้วเสร็จ 30 พฤศจิกายน 2536

ได้รับงบประมาณก่อสร้างถังน้ำ แบบ 18/12 พร้อมเดินท่อ จำนวน 1 ถัง เป็นเงิน 448,000 บาท สร้างตั้งแต่วันที่ 22 กันยายน 2536 แล้วเสร็จ 10 มกราคม 2537

ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบพิเศษ 4 ชั้น 1 หลัง เงิน 12,500,000 บาท เริ่มลงมือก่อสร้างตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2536 แล้วเสร็จภายใน 420 วัน

 พ.ศ. 2537

ได้รับงบประมาณก่อสร้างห้องน้ำ-ห้องส้วม แบบ 6 ที่/27 จำนวน 1 หลัง เงิน 180,000 บาท

 พ.ศ. 2538

ได้รับงบพัฒนาจังหวัด สนับสนุนโดย ส.ส.ศิริศักดิ์ อ่อนละมัย จัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ 441,000 บาท จัดซื้อเครื่องดนตรีสากลในการปรับปรุงวงโยธวาทิต จำนวน 823,920 บาท

.ศ. 2539

ใช้เงินบริจาคและเงิน บ.กศ. ประมาณทั้งสิ้น 500,000 บาท ต่อเติมอาคารแบบพิเศษเป็นที่จำหน่ายอาหาร

­

พ.ศ. 2539

ได้รับงบประมาณพัฒนาจังหวัด สนับสนุนโดย ส.ส. ศิริศักดิ์ อ่อนละมัย ในการจัดซื้อ

1. รถยนต์โดยสาร ขนาด 12 ที่นั่ง จำนวน 1 คัน 569,000 บาท

2. เครื่องพิมพ์สำเนาระบบดิจิตอล จำนวน 1 เครื่อง 160,000 บาท

3. เครื่องพิมพ์ดีดธรรมดา 18 นิ้ว จำนวน 20 เครื่อง 172,000 บาท

4. เครื่องดนตรีสำหรับวงโยธวาทิต จำนวน 24 รายการ 32 ชิ้น เป็นเงิน 2,799,600 บาท

 พ.ศ. 2540

ได้งบประมาณเพื่อการปฏิรูปการศึกษา 400,000 บาท

ใช้เงินบริจาคและเงินบำรุงการศึกษาสร้างป้ายโรงเรียน งบ 201,900 บาท โดยชมรมผู้ปกครองและครูโรงเรียนศรียาภัย เงิน 100,000 บาท คณะศิษย์เก่า(โดยคุณกิตติ กิตติชนธวัช และเพื่อน ๆ ปี 2519) เงิน 100,400 บาท และเงินบำรุงการศึกษา 1,500 บาท

ระหว่างวันที่ 23-29 สิงหาคม 2540 ได้เกิดเหตุการณ์ฝนตกหนักและน้ำท่วมบริเวณโรงเรียน ระดับน้ำสูงสุดในวันที่ 24-25 สิงหาคม 2540 ประมาณ 270 ซม. น้ำท่วมเร็วและไหลเชี่ยวนำความเสียหายมาสู่โรงเรียนเป็นจำนวนมาก ทั้งอาคารเรียน ถนนภายในโรงเรียน เอกสาร วัสดุครุภัณฑ์ต่าง ๆ รวม ความเสียหายจากพายุซีต้า ประมาณ 4,600,000 บาท

โรงเรียนได้จัดงานเฉลิมฉลอง 100 ปีศรียาภัย เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2540

.ศ. 2541

ได้รับงบประมาณเป็นค่าใช้จ่ายในการบูรณะความเสียหายอันเนื่องมาจากอุทกภัย เมื่อวันที่ 23-29 ธันวาคม 2540 เป็นเงิน 850,800 บาท โดย

1. เป็นค่าปรับปรุงอาคารเรียนโดยติดตั้งบานประตูพร้อมอุปกรณ์จำนวน 33 บาน เป็นเงิน 66,000 บาท

2. เป็นค่าปรับปรุงห้องน้ำ โดยติดตั้งบานประตูพร้อมอุปกรณ์ จำนวน 18 บาน เป็นเงิน
36,000 บาท

3. เป็นค่าปรับปรุงถนนลาดยางแอสฟัลติกคอนกรีต กว้าง 5.56 เมตร ยาว 428 เมตร หนา         5 เซนติเมตร 357,100 บาท

4. ปรับปรุงลานอเนกประสงค์ คสล. กว้าง 34 เมตร ยาว 42 เมตร หนา 0.12 เมตร เป็นเงิน 395,700 บาท

 พ.ศ. 2543

สร้างห้องโสตทัศนศึกษา 1 ห้อง ด้วยเงินบำรุงการศึกษา 1,500,000 บาท

 พ.ศ. 2544

1. โรงเรียนรับการคัดเลือกรับรางวัลโรงเรียนรางวัลพระราชทานโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่นับเป็นเกียรติประวัติของโรงเรียนอย่างสูงยิ่ง

2. จัดให้มีคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้น 1 ห้อง 25 เครื่อง                  งบประมาณ 750,000 บาท

3. จัดให้มี Internet ในห้องสมุด 10 เครื่อง                      งบประมาณ 300,000 บาท

4. จัดให้มีพัดลมทุกห้องเรียน ๆ ละ 2 ตัว                         งบประมาณ 250,000 บาท

5. จัดให้มีเครื่องโทรทัศน์ขนาด 25 นิ้ว ทุกห้องเรียน          งบประมาณ 772,740 บาท

6. โรงเรียนได้รับการพิจารณาจากกรมสามัญศึกษา ให้เข้าโครงการเงินกู้ธนาคารโลก

­

พ.ศ. 2545

1. จัดสร้างพระพุทธรูปประจำโรงเรียน งบประมาณทั้งสิ้น 380,000 บาท ได้พระราชทานชื่อจากสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ว่า “พระพุทธรัตนปัญญา”

2. จัดสร้างอนุสาวรีย์ คุณย่าชื่น ศรียาภัย งบประมาณ 484,499 บาท

3. จัดทำห้องเกียรติยศ (ชั่วคราว) 1 ห้อง เพื่อรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นประวัติเกียรติยศศักดิ์ศรีของศรียาภัย

4. ในโอกาสโรงเรียนก่อตั้งครบ 105 ปี โรงเรียนศรียาภัยร่วมกับสมาคมศิษย์เก่าศรียาภัย ชมรมผู้ปกครองและครูโรงเรียนศรียาภัย มูลนิธิการศึกษาโรงเรียนศรียาภัยและคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนศรียาภัยได้ร่วมกันจัดงาน “105 ปี ศรียาภัยร้อยรวมใจชาวเหลืองแดง” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมฉลองความสำเร็จของโรงเรียนและหารายได้ สร้างอาคารเอนกประสงค์ “อาคารเกียรติยศ 105 ปี ศรียาภัย” ซึ่งการจัดงานประสบความสำเร็จ

5. นางสาวสาวิตรี ณรงค์น้อย นักเรียนชั้น ม.6 ได้รับรางวัลพระราชทาน

6. องค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพรได้สนับสนุนครุภัณฑ์เพื่อใช้ในการจัดการศึกษาและกิจกรรมของโรงเรียน

 

–          เครื่องปรับอากาศ 4 เครื่อง                      เป็นเงิน 212,000 บาท

–          เครื่องฉายภาพระบบดิจิตอล 1 เครื่อง                    เป็นเงิน 229,000 บาท

–          เครื่องคอมพิวเตอร์ 1 ชุด                         เป็นเงิน   49,300 บาท

พ.ศ. 2546

ลงนามในสัญญาก่อสร้าง “อาคารเกียรติยศ 105 ศรียาภัย” เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2546        ในวงเงิน 5,584,000 บาท โดยตัดลดไฟฟ้าและสีทั้งหมดสร้างแล้วเสร็จภายใน 450 วัน และวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2546

พ.ศ. 2547

1. ได้รับงบประมาณจากกรมสามัญศึกษาตามโครงการเงินกู้ธนาคารโลก เพื่อจัดซื้อครุภัณฑ์และสื่อการศึกษาในวิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเคมี ชีววิทยา และฟิสิกส์ และปรับปรุงห้องเรียน เป็นจำนวนเงิน 2,888,500 บาท

2. องค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร สนับสนุนครุภัณฑ์โฆษณาและเผยแพร่ในวงเงิน 743,115 บาท ประกอบด้วย เครื่องพิมพ์สำเนาระบบดิจิตอล, เครื่องฉายทึบแสง, กล้องวีดีโอ 3 CCD, ไฟส่องชนิดติดกล้องวีดีโอ, จอรับภาพชนิดมือดึง 4 จอ, เครื่องถ่ายเอกสารระบบดิจิตอล, เครื่องเล่นมินิดีวีดี เครื่องมัลติมีเดียโปรเจคเตอร์, เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ 2 เครื่อง และเครื่องเล่น DVD

­

พ.ศ. 2548

1. จังหวัดชุมพรสนับสนุนงบประมาณรายได้จัดเก็บจากรังนกอีแอ่นเป็นเงิน 400,000 บาท เพื่อจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์

2. องค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร สนับสนุนงบประมาณ 1,600,000 บาท เพื่อจัดซื้อครุภัณฑ์ห้อง IT เพื่อการศึกษา

พ.ศ. 2549

               สมาคมศิษย์เก่าศรียาภัย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนศรียาภัย คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองโรงเรียนศรียาภัย ชมรมผู้ปกครองและครูโรงเรียนศรียาภัย และมูลนิธิการศึกษาโรงเรียน     ศรียาภัย ร่วมกันทำบุญทอดผ้าป่าเพื่อการศึกษา นำรายได้ซื้อที่ดินเพื่อสร้างอาคารเรียน เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2549

 

พ.ศ. 2550

คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนศรียาภัย คณะกรรมการการบริหารสมาคม ศิษย์เก่าโรงเรียนศรียาภัย คณะกรรมการชมรมผู้ปกครองและครูโรงเรียนศรียาภัย มูลนิธิการศึกษาโรงเรียนศรียาภัย คณะครู นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนศรียาภัย ได้จัดทำวัตถุมงคลพระเทวราชโพธิสัตว์จตุคามรามเทพ รุ่น “ยอดเศรษฐี ศรียาภัย 111” ขึ้น เพื่อหารายได้จัดสร้างอาคารเรียนโรงเรียนศรียาภัย

 

พ.ศ. 2551

จัดสร้างอาคารโดมหน้าอาคาร 9 3,260,000 บาท งบประมาณจากรายได้สถานศึกษา

 

พ.ศ. 2552

               1. ได้รับคัดเลือกจากเขตพื้นที่การศึกษาชุมพร เขต 1 ให้เป็นโรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

2. จัดสร้างอาคารประชาสัมพันธ์ 1,000,000 บาท งบประมาณจากสำนักงานเทศบาลเมืองชุมพร โดย นายศรีชัย วีระนรพานิช นายกเทศมนตรีเมืองชุมพร

 

พ.ศ. 2553

1. ได้รับคัดเลือกจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เข้าโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากลรุ่นแรก 1 ใน 500 โรง ทั่วประเทศ

2. จัดสร้างห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติ 990,000 บาท งบประมาณจากรายได้สถานศึกษา

3. จัดสร้างอาคารโดมโรงอาหาร 1,000,000 บาท งบประมาณจากงบแปรญัตติ โดย           นายสราวุธ อ่อนละมัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชุมพร

4. จัดสร้างลานกีฬาพื้นคอนกรีต 2,000 ตารางเมตร 1,270,000 บาท จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานงบประมาณหมวดค่าครุภัณฑ์ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ประจำปี 2552 ประเภทปรับปรุงซ่อมแซมภูมิทัศน์ (ถนน, ลานกีฬา, คูระบายน้ำ ฯลฯ)

 

พ.ศ. 2555

1. จัดสร้างป้ายโรงเรียน 380,000 บาท งบประมาณจากรายได้สถานศึกษา

2. จัดสร้างสะพานทางเชื่อม โซน A+B+C 2,695,000 บาท งบประมาณจากรายได้สถานศึกษา

               นับตั้งแต่เป็นโรงเรียนในวัดสุบรรณนิมิต เมื่อ พ.ศ. 2440 จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2557) โรงเรียนศรียาภัยของเรามีอายุถึง 117 ปี เป็นโรงเรียนเก่าแก่ที่มีประวัติอันน่าภาคภูมิใจมาแต่อดีต              ควรที่เราทั้งหลายจะต้องช่วยกันรักษาเกียรติคุณนี้ไว้ให้ตลอดไป

ajax-loader

Don't be shellfish...Share on Facebook0Tweet about this on Twitter

Leave a Reply